รู้หรือไม่ กินไอศกรีมตอนเช้าช่วยให้สมองทำงานดีขึ้น
เมื่อพูดถึงอาหารมื้อเช้า หลายคนคงคิดว่าเป็นข้าว ขนมปัง หรือเครื่องดื่มจำพวก นม กาแฟ แต่ใครจะรู้ว่าการรับประทานไอศกรีมตอนเช้านั้นช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น นี่คงเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ที่ชอบทานของหวานกันเลยทีเดียว
ซึ่ง โยชิฮิโกะ โคกะ (Yoshihiko Koga) ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคียวริน (Kyorin) ได้ดำเนินการทดลอง โดยใช้แบบทดสอบจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ พบว่า กลุ่มอาสาสมัครของอาจารย์โคกะที่ได้รับทานไอศกรีมมีการตอบสนองต่อความสามารถในการประมมวลผลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพกว่า ซึ่งจากการตรวจวัดคลื่นสมองของอาสาสมัครผู้ทดลองทานไอศกรีมในมื้อเช้ายังพบอีกว่า คลื่นความถี่อัลฟามีอัตราเพื่มสูงขึ้น ซึ่งมีผลต่อการเพิ่มระดับความตื่นตัวอีกทั้งยังช่วยลดความขุ่นเคืองทางใจได้อีกด้วย
เพื่อความแน่ใจว่าผลการทดสอบดังกล่าวนั้นไม่ได้เป็นผลที่มาจากการที่สมองถูกดึงให้ตื่นตัวจากการรับประทานของที่มีอุณหภูมิต่ำอย่างไอศกรีมเพียงเท่านั้น ศาสตราจารย์โคกะจึงได้ทำการทดลองซ้ำอีกครั้งกับกลุ่มตัวอย่างเดิมแต่ได้เปลี่ยนจากทานไอศกรีมเป็นดื่มน้ำเย็นแทน
ซึ่งหลังจากการดื่มน้ำเย็นผลที่ออกมาพบว่า กลุ่มผู้ทดลองนั้นก็มีการตื่นตัวที่มากขึ้นเช่นเดียวกับอารมณ์ที่ดีขึ้น แต่หากเปรียบเทียบในรายละเอียดของการทดลองทั้งสองครั้งนั้น ศักยภาพโดยรวมของกลุ่มคนที่เริ่มต้นวันใหม่ด้วยการดื่มน้ำเปล่านั้นยังคงต่ำกว่าการกินไอศกรีมอยู่
ศาสตราจารย์โยชิฮิโกะ โคกะ นั้นเป็นหนึ่งในผู้ชำนาญการด้านจิตสรีระวิทยา ซึ่งโดยผลส่วนใหญ่จะให้น้ำหนักในเรื่องการเชื่อมโยงประเภทอาหารและกาารลดความเครียด นอกจากนี้โคกะยังศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอาหารที่ช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระอีกด้วย ทั้งนี้แม้ว่ายังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับความเชื่อมโยงที่แน่ชัดระหว่างไอศกรีมและส่วนประกอบเฉพาะตัวที่มีผลต่อการเสริมประสิทธิภาพทางอารมณ์ ในขณะที่งานวิจัยอื่นๆกล่าวว่าไอศกรีมช่วยปลดล็อกอารมณ์ในทางที่ดีได้ และยังช่วยเพิ่มพลังให้ร่างกายได้ ซึ่งอาจดูเป็นคำอธิบายที่โกหกมากกว่า ถึงอย่างนั้นโคกะก็ยังคงศึกษางานวิจัยของเขาต่อไป
แต่อย่างไรก็ตาม นักโภชนาการจากสหราชอาณาจักรหลายรายต่างยังแสดงความคลางแคลงใจที่มีต่อการค้นพบของโคกะในครั้งนี้
เคที บาร์ฟุต (Katie Barfoot) นักวิจัยเอกจิตวิทยาโภชนาการจากมหาวิทยาลัยเรดดิ้ง (Reading University) ได้กล่าวว่า “คำอธิบายที่น่าจะเป็นไปได้ที่สุดสำหรับสาเหตุของความตื่นตัวและความกระฉับกระเฉงที่เพิ่มขึ้นนั้นน่าจะเป็นเรื่องการรับประทานอาหารเช้าและการไม่รับประทานอาหารเช้ามากกว่า เนื่องจากสมองของเราต้องการกลูโคสเพื่อใช้ในการทำงาน ดังนั้นอาหารที่มีปริมาณกลูโคสสูงขึ้นก็จะช่วยในการบำบัดอารมณ์ได้เป็นอย่างดี เมื่อเปรียบเทียบกับสมองที่ขาดอาหาร”
“อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องการรับประทานของหวานในมื้อเช้าแต่อย่างใด เนื่องจากผลการศึกษาเน้นสำรวจและศึกษาไปที่ปฎิสัมพันธ์ของมนุษย์ระหว่างการรับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง (GI foods หรือ Glycemic Index) และอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลที่ต่ำมากกว่า ขณะที่กลุ่มคนที่อดอาหารเช้าก็น่าจะมีความเข้าใจเป็นอย่างดีถึงประสิทธิภาพทางอารมณ์ที่เพิ่มขึ้น”