รู้หรือไม่ นอนเกินส่งผลเสียต่อสุขภาพ
สำหรับคนขี้เซาหรือหากคุณเป็นคนนอนง่ายแบบหัวถึงหมอนแล้วหลับได้เลย อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ แน่นอนว่าการนอนนั้นเป็นเรื่องสำคัญซึ่งการนอนนั้นเปรียบเสมือนเป็นวิตามินในการบำรุงร่างกาย สมองและจิตใจ แต่หากระยะเวลาในการนอนนั้นมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคนอนเกิน” (Hypersomnia) ได้ เช่นนั้นเรามาทำความรู้จักโรคนอนเกินพร้อมกับเคล็ดลับในการนอนเพื่อสุขภาพที่ดีกัน
โรคนอนเกิน หรือ Hypersomnia เป็นโรคที่เกิดจากการหลับเกินพอดี จะมีอาการ ขี้เซา นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ ง่วงตลอดเวลา งีบหลับระหว่างวันหลายครั้ง แม้แต่ในเวลากินข้าวหรือขณะพูดคุยก็ยังหลับได้ ซึ่งอาจรวมไปถึงการนอนที่นานเกิน 8 ชั่วโมง ซึ่งโรคนี้ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรม นิสัยเกียจคร้าน หรือบุคลิกภาพส่วนตัว แต่เกิดจากโรคทางกายหรือจิตใจ อาจต้องรีบปรึกษาแพทย์ โดยโรคนี้ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรม นิสัยเกียจคร้าน หรือบุคลิกส่วนตัว แต่เกิดจากโรคทางกายหรือจิตใจซึ่งควรรีบพบแพทย์
โดยสัญญาณอันตรายที่ก่อให้เกิดโรคนอนเกินนั้นมีดังนี้
ตื่นนอนยาก มีอาการขี้เซา
นอนเท่าไหนก็ไม่พอ รู้สึกง่วง เพลียอยู่ตลอดเวลา
อยากงีบนอนวันละหลายๆครั้ง
หากมีอาการหนักมากอาจงีบหลับได้ในสถานการณ์ต่างๆอย่างเช่น ขณะทานข้าว อยู่ในวงสนทนาที่เสียงดัง ระหว่างทำงาน
อาจมีอารมณ์ฉุนเฉียวและแปรปรวนง่ายกับเรื่องเล็กๆน้อยๆ
ความจำไม่ค่อยดี สมองไม่ค่อยแล่น คิดอะไรไม่ออกหรืออาจคิดช้าทำช้า
มีความวิตกกังวลหรืออาจมีอาการซึมเศร้า
ซึ่งต้นเหตุที่ทำให้นอนไม่พอสักทีก็มีอีกมากมาย อาทิเช่น
การอดนอนสะสมมาเป็นเวลานานๆบ่อยๆจนร่างกายพักผ่อนไม่พอ
นาฬิกาชีวภาพในร่างกายเกิดความแปรปรวน ปรับเวลาผิด เช่น เดินทางข้ามประเทศที่มีเวลาแตกต่างกันมาก
ฮอร์โมนหรือสารเคมีในร่างกายและสมองไม่ปกติจึงทำให้ร่างกายนอนมากกว่าปกติ
นอนกรนหรือมีภาวะในการหยุดหายใจในช่วงหลับซึ่งทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
เนื้องอกในสมองและโรคอื่นๆที่ทำให้อยากนอนตลอดเวลา
ผลเสียจากการนอนมากไป
ส่งผลให้สมองทำงานช้า เมื่อสมองทำงานช้าก็จะส่งผลให้ความคิดความอ่านช้าตามไปด้วย รู้สึกเฉื่อยชา กลายเป็นคนที่ไร้เรี่ยวแรงไม่มีชีวิตชีวา ทำให้ไม่อยากขยับร่างกายและส่งผลให้กระดูกและกล้ามเนื้อไม่ค่อยได้ถูกใช้งานซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกต่อไปได้
ทำให้อ้วนง่าย เนื่องจากเมื่อนอนระบบการย่อยในร่างกายจะไม่ทำงานแม่ว่าจะรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อยแต่ระบบเผาผลาญก็ไม่ทำงาน ร่างการเริ่มสะสมไขมัน ซึ่งก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ ความดันและเบาหวาน
ผลการศึกษาในปี 2013 จากผู้หญิงเกาหลีใต้พบว่าผู้ที่นอนนานเกินวันละ 9 ชั่วโมงต่อวันจะก่อให้เกิดภาวะมีบุตรยากกว่าคนอื่นที่นอนวันละ 7-8 ชั่วโมงถึง 650 คน เนื่องจาก ฮอร์โมนและรอบเดือนของผู้หญิงจะเป็นปกติก็ต่อเมื่อร่างกายได้รับการพักผ่อนที่เพียงพออย่างพอดี
ได้มีการศึกษาผู้หญิงสูงวัยที่นอนมากกว่า 9 ชั่วโมงต่อวันนั้้นจะมีอารมณ์ที่แปรปรวนและส่งผลให้สมองทำงานแย่ลง เนื่องจากสารแห่งความสุขจะผลิตน้อยลง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าในอนาคตได้มากกว่าคนที่นอนปกติถึง 49%
ทั้งนี้การพักผ่อนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แต่ถ้าหากมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ซึ่งโรคนอนเกินนั้นไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมหรือนิสัยเกียจคร้าน แต่เกิดจากโรคทางกายหรือทางจิตใจ ควรที่จะรีบพบแพทย์ เช่นนั้นไม่ควรเพิกเฉยต่อพฤติกรรมการนอนผิดปกติของตัวเอง